ราคาทองคำฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังการเปิดเผยข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ แม้ว่าจะยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลงสองสัปดาห์ก็ตาม ในเช้าวันศุกร์ ตลาดกำลังรอรายงานฉบับแรกเกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกนและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคในเดือนตุลาคม รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สำหรับเดือนกันยายน
ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาที่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวมากนักของดอลลาร์สหรัฐฯต่อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ออกมาดีกว่าที่คาดไว้ การมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากจีน หรือการคาดการณ์ว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจปรับตัวลง ราคาทองคำกำลังมุ่งหน้าสู่จุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ ซึ่งในทางเทคนิค การทะลุเหนือระดับเส้น 100-SMA ล่าสุด ประกอบกับสัญญาณ MACD ที่เป็นขาขึ้น และสัญญาณ RSI (14) ที่มีทิศทางเชิงบวก ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมแรงหนุนให้กับโมเมนตัมขาขึ้น
ในบรรดาระดับทางเทคนิคที่สำคัญ ระดับราคาที่ราวๆ $2,647 จะเป็นจุดที่น่าจับตามอง เนื่องจากเป็นจุดสูงสุดของกรอบของช่วงแนวโน้มขาลง ซึ่งหากทะลุระดับราคานี้ไปได้ จะเป็นการลบล้างรูปแบบกราฟขาลงในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนั้น ราคาทองคำอาจจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วไปที่ระดับสูงสุดตลอดกาลที่ประมาณ $2,685 นอกจากนี้ หากสามารถพุ่งสูงขึ้นทะลุผ่านระดับราคาที่ราวๆ $2,685 ไปได้อย่างชัดเจน จะบ่งชี้ถึงแรงสนับสนุนที่แข็งแกร่งสำหรับแรงเทซื้อทองคำ และอาจเปิดทางให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับ $2,700 ได้
ในทางตรงกันข้าม เส้น 100-SMA ที่ระดับ $2,636 จะทำหน้าที่เป็นแนวรับที่ใกล้ที่สุดสำหรับราคาทองคำ ร่วมกับเส้นแนวโน้มขาขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่อยู่บริเวณ $2,600 หาก XAUUSD ร่วงลงต่ำกว่าระดับราคาที่ราวๆ $2,600 ตลาดจะเปลี่ยนโฟกัสไปที่จุดต่ำสุดของกรอบของช่วงแนวโน้มขาลงและระดับเส้น 200-SMA ซึ่งอยู่ใกล้กับระดับราคาที่ประมาณ $2,595 และ $2,580 ตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากราคาทะลุลงต่ำกว่า $2,580 ราคาทองคำอาจตกอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะสั้น โดยอาจตั้งเป้าหมายไปที่ช่วง $2,540-$2,530 ได้
ด้วยความคาดหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed และความเป็นไปได้ที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังจะมีการประกาศออกมาอาจปรับตัวลง ประกอบกับตัวชี้วัดทางเทคนิคที่แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้น ราคาทองคำจึงมีแนวโน้มว่าอาจจะปรับตัวสูงขึ้นต่อไป โดยมุมมองเชิงบวกนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากข้อมูลสถิติทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯท้าทายความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกสองครั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มนี้ก็ยังดูเหมือนว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น