การที่ตลาดหุ้นตก (Stock market crash) หมายถึง สถานการณ์ที่ดัชนีตลาด รวมถึงดัชนีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ปรับตัวลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว (ลบแบบ Double digit หรือเลขสองหลัก) โดยจะเกิดขึ้นเมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวนอย่างหนัก
สถานการณ์นี้อาจส่งผลให้ตลาดเข้าสู่ขั้นวิกฤตได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ระดับเปอร์เซ็นต์ที่ตลาดหุ้นจะดิ่งฮวบได้ (ไม่เหมือนกับการระบุแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง) ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักเทรดมากมายในตลาดต่างพยายามทำความเข้าใจสาเหตุและวิธีการรับมือกับสภาวะดังกล่าว
บทความวันนี้จะพาทุกท่านไปดูตัวอย่างเหตุการณ์ตลาดหุ้นตก รวมถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ตลาดหุ้นตก ได้แก่:
โดยทั่วไป ตลาดจะดิ่งอย่างหนักเมื่อมีวิกฤตหรือเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญของการเกิดสภาวะฟองสบู่แตก นักลงทุนในตลาดก็จะเริ่มวิตกกังวลอย่างมากจนตัดสินใจที่จะระบายสินทรัพย์ต่างๆ (พันธบัตรและหุ้น เป็นต้น) ที่ถืออยู่ออกไป ทำให้ตลาดร่วงหนักเพราะต่างคนต่างก็ต้องการขายสินทรัพย์ออกด้วยความกลัว
ไม่ใช่แค่นักเทรด แต่ผู้คนทั่วไปในสังคมต่างก็ได้รับผลกระทบเต็มๆ จากตลาดที่ดิ่งอย่างหนัก:
ผู้คนทั่วไปก็จะต้องรับมือและจัดการกับความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นซึ่งส่งผลต่อการวางแผนการลงทุนเพื่อเกษียณ เพราะมีโอกาสที่หลายคนอาจตกงานหรือมีรายได้ลดลงเมื่อหุ้นของบริษัทตกฮวบ
วิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้แบงก์ชาติหลายแห่งต้องออกมาตรการและนโยบายที่เข้มงวดเพื่อบรรเทาความรุนแรงจากการที่ตลาดหุ้นตก และเพื่อให้สถานการณ์การเงินกลับเข้าสู่สภาวะปกติให้ได้มากที่สุด โดยเครื่องมือหลักที่มักใช้ในการทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากวิกฤตหุ้นตก ได้แก่:
แต่ละคนต่างต้องมองหาธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงินที่มีความมั่นคงและเชื่อถือได้เพื่อคอยดูแลทรัพย์สินที่มีอยู่ให้อยู่ในความปลอดภัย ขณะที่นักลงทุนจะต้องรับมือกับความวิตกกังวลในตลาดและเตรียมวิธีการตั้งรับกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
หลายท่านคงคุ้นเคยกับวิกฤตทางการเงินโลกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1929 ที่ทำให้ตลาดดิ่งฮวบ และต่อมาในปี 1987 ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลงถึง 22.8% ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งในปี 2008 ตลาดหุ้นดิ่งจากการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส (Lehman Brothers) ซึ่งทำให้ดัชนี DJIA ร่วงหนักถึง 777.7 จุด
อย่างที่ทราบกันดีว่าวิกฤตยูเครนส่งผลให้สินทรัพย์หลักทั้งหมด (ตั้งแต่หุ้นไปจนถึงน้ำมัน ข้าวสาลี หรือแม้กระทั่งก๊าซธรรมชาติ) ผันผวนหนัก โดยสินทรัพย์บางรายการมีอัตราความผันผวนสูงสุดในรอบ 20 ปีเลยทีเดียว เป็นไปได้ยากที่นักลงทุนจะคาดเดาสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของราคาได้อย่างแม่นยำ
สถานการณ์ยิ่งย่ำแย่กว่าเดิมเมื่อนักเทรดไม่เพียงแค่ต้องตั้งรับกับวิกฤตยูเครน แต่ยังต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลังจากรัสเซียทำการรุกรานยูเครน ซึ่งยิ่งทำให้ตลาดยากเกินคาดเดาไปอีก ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก
วันนี้ อัตราเงินเฟ้อพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี บีบบังคับให้ Fed ยิ่งต้องออกมาตรการที่เข้มงวดและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกหลังจากปี 2018 เป็นต้นมา แต่แน่นอน ตามหลักการทั่วไปแล้วสภาวะเศรษฐกิจมักจะหมุนเวียนเป็นวัฏจักร ทางที่ดีคือนักลงทุนจะต้องเรียนรู้วิธีการลงทุนเทรดหลังวิกฤตสิ้นสุด เมื่อตลาดการเงินฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติหลังดิ่งสู่ขั้นวิกฤต
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน