ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

ดัชนีชี้พ้อง (Coincident Indicator) บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ และตลาดการลงทุน

เทรดเดอร์แต่ละรายมีการใช้กลยุทธ์เทรดและเครื่องมือช่วยเทรดหรือ Indicator ที่ไม่เหมือนกันในการคาดการณ์ทิศทางตลาดและพิจารณาภาพรวมของตลาด โดย indicator ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นตัวยืนยันสัญญาณในการออกออเดอร์จากการวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ในอนาคต, แนวโน้มและทิศทางราคาของหุ้น, รายได้ของบริษัท, รายการสินค้าของธุรกิจต่างๆ รวมถึงตราสารการเงินประเภทอื่นๆ ในตลาด

None

อินดิเคเตอร์ประเภทอื่นๆ นั้นอาจมีการวิเคราะห์ตลาดหลังจากที่ตลาดมีความเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงเท่านั้น โดยทุกครั้งที่ท่านสังเกตเห็นการค้าขายเกิดขึ้น นั่นก็อาจเป็นหนึ่งในตัวอย่าง coincidence indicator ก็เป็นได้ ซึ่งอินดิเคเตอร์เหล่านั้นจะพุ่งขึ้นหรือลดลงในทิศทางเดียวกับสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้ในกรณีดังกล่าวการใช้ตัวชี้วัดตามหรือ Lagging indicator อาจไม่เกิดประโยชน์หรือใช้คาดการณ์ได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก

ในบทความวันนี้ เราจะมาพูดถึงวิธีการใช้อินดิเคเตอร์ coincidence พร้อมทำความเข้าใจว่าอินดิเคเตอร์ดัชนีชี้พ้องบอกอะไรกับเราบ้าง?

ดัชนีชี้พ้อง (Coincident Indicator) คืออะไร?

ดัชนีชี้พ้อง หรือ Coincident indicator เป็นตัวชี้วัดที่ใช้พิจารณาภาพรวมของสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รวมไปถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ เช่น ตัวเลขรายได้สุทธิ, อัตราการจ้างงาน และชั่วโมงขั้นต่ำในการทำงาน เป็นต้น โดยในการใช้ coincidence indicator มีหลักการสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้:

  1. อินดิเคเตอร์ดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยอาจใช้วิเคราะห์เศรษฐกิจในแต่ละทวีป, รัฐ และประเทศ ตามต้องการได้ 
  2. หากต้องการดูภาพรวมของสภาวะเศรษฐกิจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ควรใช้อินดิเคเตอร์นี้ร่วมกับตัวชี้วัดนำ (Leading indicator) และตัวชี้วัดตาม (Lagging indicator) ด้วย
  3. เพื่อลดสัญญาณรบกวนต่างๆ จากอินดิเคเตอร์แต่ละชนิด ควรนำค่าที่ได้มาคิดรวมเป็นดัชนีเพื่อการวัดค่าและรายงานผลสถิติอย่างแม่นยำ เชื่อถือได้

วิธีอ่านดัชนีชี้พ้อง (Coincidence Indicator)

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่านอกจากอินดิเคเตอร์นี้เป็นตัวชี้วัดปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคแล้ว มันยังสะท้อนภาพรวมของเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันอีกด้วย โดยอินดิเคเตอร์เชิงเศรษฐกิจที่เรากำลังพูดถึงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่:

  • ตัวชี้วัดตาม (Lagging) – แสดงการเปลี่ยนแปลงหลังสภาวะเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง
  • ดัชนีชี้พ้อง (Coincidence) – รายงานเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
  • ตัวชี้วัดนำ (Leading) – ช่วยระบุทิศทางของสภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้า

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

หากจะใช้ coincidence indicator ในการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดเชิงลึกให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำจริงๆ เราขอแนะนำให้ท่านใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อีก 2 ประเภทที่เราได้กล่าวไปข้างต้น เพราะท่านจะไม่เพียงแค่ดูสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้เท่านั้น แต่ยังสามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากต้องการทราบดัชนีพ้องวัฏจักรธุรกิจ (Coincidence index) จะต้องรอฟังการแถลงการณ์จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เท่านั้น

อินดิเคเตอร์ Coincidence บอกอะไร?

อย่างแรกเลยก็คือมันจะบ่งบแกข้อมูลความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจโดยรวมแบบเรียลไทม์ อัปเดตทันตามเวลา พร้อมทั้งปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต อย่างที่สองก็คืออินดิเคเตอร์นี้จะช่วยจำลองความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในอนาคตโดยวัดจากผลผลิตทางอุตสาหกรรม (Industrial production), จำนวนชั่วโมงในการทำงาน (Working hour) และรายได้ส่วนตัว (Personal income) เป็นต้น ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถมองภาพการตอบสนองของตลาดต่อปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้

อินดิเคเตอร์ coincidence จะติดตาม 3 ประเด็นหลักๆ ได้แก่:

  1. อุตสาหกรรม
  2. พาณิชยการ
  3. เศรษฐศาสตร์

โดย 3 ปัจจัยหลักที่เราได้กล่าวมานี้จะมีผลอย่างมากต่อแนวโน้มของตลาดและนโยบายทางเศรษฐกิจในอนาคต

ตัวอย่างเช่น: หากท่านได้อ่านรายงานเกี่ยวกับการเพิ่มการผลิตแผงโซล่าเซลล์ นั่นหมายความว่าแวดวงอุตสาหกรรมทั้งหมดเกี่ยวกับพลังงานทดแทนกำลังจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว

ยิ่งไปกว่านั้น นักลงทุนอาจพบว่าความต้องการแรงงานสำหรับทำงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น และอาจต้องการแรงงานที่มีคุณภาพมากขึ้นเช่นกัน ทำให้มีการจ้างงานด้วยค่าแรงที่สูงขึ้น นั่นหมายความว่าบริษัทกำลังเพิ่มการผลิตในตลาด หรือพูดง่ายๆ ก็คือบริษัทมีรายได้เพิ่มมากพอที่จะจ้างแรงงานด้วยอัตราจ้างที่มากขึ้น

จากตัวอย่างดังกล่าว ข้อมูลการจ่ายค่าแรงนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งประเภทของดัชนีชี้พ้องที่บ่งบอกสถานภาพของแรงงานและเงินทุนที่เจ้าของกิจการได้ลงทุนไปนั่นเอง ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะมีผลต่อสภาวะทางเศรษฐกิจต่อไป

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน