บทความนี้จะพาเทรดเดอร์มือใหม่ไปทำความรู้จักกับข้อมูลสำคัญสำหรับการเทรด รวมถึงวิธีเทรดโดยอาศัยข่าวจากปฏิทินเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลหลายอย่างที่มีผลต่อการเทรดแตกต่างกันไป ที่สำคัญเราจะพาท่านไปทำความรู้จักกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ท่านควรติดตามขณะเทรดอีกด้วยครับ ถ้าพร้อมแล้ว… ไปเรียนรู้พร้อมๆ กันเลย!
สรุปสั้นๆ:
ก่อนที่ท่านจะเริ่มเทรดในตลาด Forex แบบจริงจัง เราขอแนะนำให้ท่านลองติดตามปฏิทินเศรษฐกิจของสหรัฐ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับการเทรดของท่านด้วยการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งจะมีผลต่อการเทรดของท่านเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าท่านกำลังเทรดคู่เงินของ USD อยู่แล้วล่ะก็ ท่านยิ่งไม่ควรมองข้ามปฏิทินเศรษฐกิจของสหรัฐเลยล่ะครับ
ข้อมูลทางเศรษฐกิจนั้นแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการอัปเดตรายวัน, การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ, การเผยแพร่ข่าวการเมือง และเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ ที่จะมีผลในการเปลี่ยนแปลงสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสหรัฐในระดับกว้าง และก็แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในตลาด forex ด้วยเช่นกัน
ปฏิทินเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นอีกหนึ่งประเภทปฏิทินทางการเงินที่แสดงข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งมักจะมีการอัปเดตใหม่อยู่เป็นประจำเพื่อให้เทรดเดอร์สามารถติดตามข่าว, การเปลี่ยนแปลง, ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการเทรดอยู่เสมอ
ที่น่าสนใจก็คือ ข่าวการเปลี่ยนแปลงบางอย่างและตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจบางประเภทอาจมีความสำคัญ (ในแง่ของผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม) มากกว่าข้อมูลตัวอื่นๆ ตัวอย่างเช่น GDP (Gross Domestic Product หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนปริมาณสินค้าและบริการที่มีการผลิตขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และตัวเลข Non-farm Payrolls ของสหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกจำนวนแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมนั่นเอง
เอาล่ะ! ดูเหมือนว่าจะมีข้อมูลให้ติดตามอยู่ไม่น้อย ว่าแต่… ท่านควรติดตามข้อมูลใดบ้างในปฏิทินเศรษฐกิจ และจะใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการเทรดอย่างไร?
ก่อนที่เราจะไปลงลึกถึงวิธีการเทรดโดยอาศัยปฏิทินเศรษฐกิจ ลองมาดูกันว่าการเทรดด้วยวิธีนี้มีข้อดีอย่างไร
ใจความสำคัญ
แน่นอนว่าเทรดเดอร์จะต้องเตรียมตัวโดยการติดตามข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามการเทรดของท่าน หากท่านเทรด forex การเตรียมตัวก็จะขึ้นอยู่กับคู่เงินแต่ละคู่ที่ท่านเทรดนั่นเอง
หากท่านได้ลองติดตามนักเทรดมืออาชีพหลายๆ ราย ก็จะเห็นว่าเทรดเดอร์เหล่านั้นมักจะไม่เทรดตามข่าวหรือประกาศที่อยู่บนปฏิทินเศรษฐกิจ แต่จะใช้ปฏิทินดังกล่าวในการติดตามวันและเวลาที่จะมีเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ เกิดขึ้น
เมื่อรู้วันและเวลาที่จะมีเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นแล้ว เทรดเดอร์มืออาชีพจะวางแผนสำหรับการเทรดล่วงหน้าด้วยการวิเคราะห์ว่าข้อมูลเศรษฐกิจเหล่านั้นจะส่งผลต่อคู่เงินที่พวกเขากำลังเทรดอย่างไร จากนั้นจึงค่อยปรับเปลี่ยนการตั้งออเดอร์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น
ใจความสำคัญ
อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า ปฏิทินเศรษฐกิจของสหรัฐจะระบุวันและเวลาที่จะมีการประกาศข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจเอาไว้ล่วงหน้า ฉะนั้นเทรดเดอร์จะสามารถ
เทรดเดอร์สามารถใช้วันและเวลาที่จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเทรดล่วงหน้าได้ เช่น หากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงหรือเลื่อนวันและเวลาที่จะประกาศ ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเวลาที่จะเกิดความเคลื่อนไหวในตลาดอาจมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
นอกจากนี้ เทรดเดอร์มืออาชีพมักจะคอยติดตามการคาดการณ์ล่วงหน้าจากนักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าหากข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมานั้นแตกต่างจากที่คาดการณ์เอาไว้ ก็อาจเป็นเรื่องยากที่เทรดเดอร์จะสามารถเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปได้
ในระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่, สงครามการค้า และจังหวะที่เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมือง ตลาดมักจะมีความผันผวนสูงมากกว่าปกติ และแนวโน้ม (เทรนด์) ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลเศรษฐกิจและการเมืองเหล่านั้น
ปฏิทินเศรษฐกิจของสหรัฐนับว่าเป็นเครื่องมือประกอบการเทรดที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่อาจเกิดความไม่แน่นอนเกิดขึ้น เพราะเทรดเดอร์จะสามารถวางแผนล่วงหน้าได้ว่าควรเทรดอย่างไรในช่วงเวลาเหล่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่อาจส่งผลให้เทรดขาดทุนได้ในที่สุด
อย่างไรก็ดี อาจมีเหตุการณ์ความวุ่นวายต่างๆ เกิดขึ้นตามมาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดเช่นกัน พูดง่ายๆ ก็คือการประกาศครั้งสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นจะสร้างความไม่แน่นอนให้กับตลาด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการลงทุนในแง่ลบ หรืออาจสวิงให้ตลาดกลับมาสู่สภาวะที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
สิ่งสำคัญก็คือเทรดเดอร์จะต้องหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารและเทรดอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษในจังหวะที่จะมีการประกาศและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น เพื่อเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นซึ่งกำลังจะส่งผลกระทบต่อตลาดและการลงทุนของท่านในไม่ช้า
การจะเทรดโดยอาศัยปฏิทินเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญเลยก็คือเทรดเดอร์ต้องมั่นใจว่าท่านได้รับเงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุดในตลาดการเงิน โดยที่ MTrading เรามาพร้อมกับหนึ่งในเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับการเทรดหุ้น และ forex แถมยังเทรดได้อย่างมั่นใจด้วยแพลตฟอร์มที่กวาดรางวัลแพลตฟอร์มเทรดที่ดีที่สุดมาแล้วอย่าง MetaTrader 4 และที่พิเศษสุดๆ เลยก็คือ เรามีข่าวเศรษฐกิจให้ท่านติดตามทุกต้นสัปดาห์ เพื่อเตรียมวางแผนการเทรดของท่านให้พร้อมล่วงหน้าได้ทุกเมื่อ!
จะเพลิดเพลินกับการเทรดในตลาดจริง หรือจะฝึกฝนทักษะการเทรดบน บัญชีเดโม่ ฟรี โดยการทดลองเทรดในสภาวะการเทรดเสมือนจริง ด้วยเงินทุนจำลองก็ยังได้ ท่านสามารถทดลองเทรดโดยใช้ข้อมูลสำคัญจากปฏิทินเศรษฐกิจ และเพิ่มประสบการณ์การเทรดของท่านได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเสี่ยงขาดทุน
ฟีเจอร์ที่สำคัญที่สุดของปฏิทินเศรษฐกิจคือการอัปเดตที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะแสดงการเปลี่ยนแปลงวันและเวลา รวมถึงข้อมูลสำคัญอื่นๆ แบบเรียลไทม์ ยิ่งไปกว่านั้น ปฏิทินเศรษฐกิจบางอันอาจมีการคาดการณ์ผลกระทบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อเทรนด์ในตลาดให้ด้วยเช่นกัน
ยิ่งไปกว่านั้น เทรดเดอร์ยังสามารถติดตามข้อมูลที่แบ่งออกไปตามประเทศ, ตัวชี้วัด และผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดจากการประกาศและตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ และในปฏิทินเศรษฐกิจบางอันอาจประกอบไปด้วยชุดข้อมูลในอดีตที่เป็นประโยชน์สำหรับการเทรดของท่าน รวมถึงการคาดการณ์ข้อมูลล่วงหน้าจากข้อมูลในอดีตเหล่านั้นด้วยเช่นกัน
จากในปฏิทินเศรษฐกิจ เทรดเดอร์สามารถติดตามตัวชี้วัดได้หลายชนิด โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่:
ตัวชี้วัดนำทางเศรษฐกิจอาจมีการเปลี่ยนแปลงก่อนที่เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการคาดการณ์เทรนด์ของตลาดในอนาคต ในขณะเดียวกัน ตัวชี้วัดตามจะแสดงพฤติกรรมของสภาวะเศรษฐกิจในอดีตที่ผ่านมา (ในแง่ของการเทรด ข้อมูลในอดีตก็อาจเป็นตัวชี้วัดที่มีประโยชน์ในการเตรียมตัวและวางแผนสำหรับการเทรดในอนาคต)
ตัวอย่างของตัวชี้วัดนำที่ควรติดตามคือ ตัวเลขยอดขายปลีก (Retail Sale) และตัวชี้วัดตามที่น่าสนใจคือ อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ซึ่งเป็นการวัดจำนวนการว่างงานในช่วงเวลาที่ผ่านมานั่นเอง
แต่ก็ยังมีตัวชี้วัดอื่นๆ ที่เทรดเดอร์ไม่ควรมองข้าม เช่น ตัวเลข GDP, ดัชนี PMI (Purchasing Managers Index หรือดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดและวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ผลิต, ดัชนี CPI (Consumer Confidence Index หรือดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค), จำนวนคนยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน (Initial Jobless Claim) และอื่นๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดเหล่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ แตกต่างกันไปตามผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ รวมถึงระดับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในตลาด
ปฏิทินเศรษฐกิจที่มีมาตรฐานจะต้องมี 'ระบบการจัดลำดับ' ซึ่งจะช่วยจัดกลุ่มตัวชี้วัดต่างๆ ทางเศรษฐกิจออกเป็นกลุ่มๆ ตามระดับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากตัวชี้วัดเหล่านั้น
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน