ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-06-21

การฟื้นตัวของ EURUSD ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากก่อนการรายงานข้อมูล PMI ของสหภาพยุโรป/สหรัฐฯ

การฟื้นตัวของ EURUSD ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากก่อนการรายงานข้อมูล PMI ของสหภาพยุโรป/สหรัฐฯ

แม้ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานออกมาเมื่อวันพฤหัสบดีจะค่อนข้างไม่น่าประทับใจ แต่ดอลลาร์สหรัฐฯก็ยังคงแข็งค่าขึ้นมากที่สุดในรอบสัปดาห์ ขณะที่ตลาดกลับมาเปิดทำการเต็มรูปแบบอีกครั้ง ประกอบกับมีเสียงสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อย่างไรก็ตาม ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯกลับชะลอตัวลงในช่วงเช้าวันศุกร์ก่อนที่จะมีการประกาศการรายงานตัวเลขเบื้องต้นของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ประจำเดือนมิถุนายนของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก

น่าสังเกตว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดอกเบี้ย (interest rate futures) ชี้ให้เห็นถึงการคาดการณ์ของนักลงทุนในตลาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึงสองครั้งในปี 2024 เมื่อเทียบกับสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯผ่านรายงาน dot plot ล่าสุด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน

คู่เงิน EURUSD มีราคาเสนอซื้อเป็นบวก โดยชะลอการร่วงลงจากวันก่อนหน้าท่ามกลางความหวังที่จะได้เห็นข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นจากเยอรมนีและยูโรโซน ในขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ก็ชะลอตัวจากการร่วงลงในรอบสัปดาห์เช่นกันจากยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรที่มีทิศทางดีขึ้นและการคาดการณ์เชิงบวกต่อข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของสหราชอาณาจักรประจำเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน แม้ว่าจะยังคงขาดโมเมนตัมขาขึ้นที่ระดับสูงสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ก็ตาม เนื่องจากสัญญาณเงินเฟ้อที่ผันผวนและการรายงานค่าดัชนี PMI ของญี่ปุ่นได้ท้าทายการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)

คู่เงิน AUDUSD มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง แม้ดัชนี PMI ของออสเตรเลียจะปรับตัวลดลง แต่คู่เงิน AUDUSD ก็ยังคงเป็นคู่เงินที่พุ่งสูงขึ้นที่สุดในกลุ่มสกุลเงินหลัก G10 เช่นเดียวกับคู่เงิน NZDUSD ที่ปรับตัวขึ้นเช่นกัน แม้จะไม่มีปัจจัยสนับสนุนภายในประเทศ อีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDCAD ร่วงลงเป็นวันที่ 6 ติดต่อกันแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่ขยับตัวสูงขึ้น ส่วนทางด้านคู่เงิน USDCHF ปรับตัวลงจากการพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหนึ่งเดือน หลังจากที่ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนต่างเตรียมพร้อมสำหรับการรายงานข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจที่รออยู่ข้างหน้า

ในอีกด้านหนึ่ง ราคาทองคำยังคงปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ หลังจากสามารถก้าวข้ามแนวต้านสำคัญ ซึ่งขณะนี้ทำหน้าที่เป็นแนวรับที่บริเวณ $2,345 ขณะที่ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังขาดความเชื่อมั่น และตลาดโลกยังคงมีความเห็นขัดแย้งกันเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของธนาคารกลางชั้นนำ

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD ยังคงอ่อนตัวลงเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน เช่นเดียวกับ ETHUSD ที่ยังคงปรับตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากข่าวการขาย Bitcoin ของรัฐบาลเยอรมนี ประกอบกับข่าวการรั่วไหลด้านความปลอดภัยในเครือข่ายสกุลเงินดิจิทัลบางแห่ง เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (US SEC) จำเป็นต้องออกมายืนยันจุดยืนที่เข้มงวดต่อสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้ ในอีกทางหนึ่งกลับเป็นการส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นเชิงบวกเกี่ยวกับการอนุมัติ spot ETF ด้วยเช่นกัน

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกที่ระดับสูงสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ โดยเพิ่มขึ้น 0.14% ระหว่างวันที่ประมาณ $81.30
  • ทองคำ (Gold) ยังคงอยู่ในแนวรับที่ประมาณ $2,360 หลังจากพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหนึ่งสัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) พยายามรักษาระดับการปรับตัวสูงขึ้นของวันก่อนหน้าในขณะที่ถอยกลับไปที่ระดับประมาณ 105.55
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม แต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ยังคงได้รับแรงกดดันที่ประมาณ $64,500 และ $3,510 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องอีกสัปดาห์ แม้ข้อมูลเศรษฐกิจจะมีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง…….

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ตัวเลขเบื้องต้นของจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯ, ดัชนีภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำฟิลาเดลเฟีย, ตัวเลขตลาดอสังหาริมทรัพย์ และบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 1 ที่ปรับตัวลงนั้น ไม่สามารถหยุดยั้งดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ( DXY) จากการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบสัปดาห์ได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯส่วนใหญ่ต่างออกมาปฏิเสธความหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในบรรดาเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์ Thomas Barkin และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำมินนิแอโปลิส Neel Kashkari จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากทั้งสองคนต่างปฏิเสธโอกาสที่จะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เว้นแต่จะเห็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อกำลังลดลง นอกเหนือไปจากการพูดคุยถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed แล้ว ความคิดเห็นเชิงบวกจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ Janet Yellen และความกังวลที่สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ในจีนยังทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกันอีกด้วย

แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯจะไม่สามารถหนุนแรงเทขายดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางตลาดที่กลับมาเปิดทำการเต็มรูปแบบแล้ว แต่คู่เงิน EURUSD กลับร่วงลงอย่างหนักหลังจากที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซนประจำเดือนมิถุนายนที่ปรับลดลงกลบกระแสธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ส่งเสริมนโยบายการเงินที่เข้มงวด ในทางกลับกัน การยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกอบกับยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรที่แข็งแกร่ง ยังช่วยให้คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคญี่ปุ่น (CPI) ประจำเดือนพฤษภาคมและข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจประจำเดือนมิถุนายนของญี่ปุ่นได้ท้าทายแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)

คู่เงิน AUDUSD ไม่ตอบสนองต่อตัวเลขดัชนี PMI ของออสเตรเลียประจำเดือนมิถุนายนที่ปรับลดลง โดยสาเหตุหลักอาจมาจากการอัปเดตแนวโน้มการเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) นอกจากนี้ แรงหนุนเพิ่มเติมของคู่เงิน AUDUSD ยังมาจากการคาดการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ปัจจัยเหล่านี้ยังส่งผลให้คู่เงิน NZDUSD สามารถพลิกกลับมาพุ่งสูงขึ้น แม้จะไม่มีปัจจัยสนับสนุนภายในประเทศ นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ยังร่วงลงเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน แม้ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) จะส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ขณะที่ ราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้น ได้แก่ การลดลงของปริมาณคลังสำรองน้ำมันที่ไม่คาดคิดและการคาดการณ์ว่าจีนจะมีความต้องการพลังงานที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และที่ปรึกษาเศรษฐกิจทำเนียบขาว (WH) Lael Brainard ได้แสดงความคาดหวังต่อภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง ซึ่งส่งสัญญาณถึงความจำเป็นในการลดอัตราดอกเบี้ย ในทางกลับกัน สถานการณ์นี้กลับท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก่อนหน้าการประกาศตัวเลขดัชนี PMI ในวันนี้ ปัจจัยดังกล่าวเมื่อร่วมกับความกังวลของตลาดต่อสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ซบเซา ยังช่วยผลักดันราคาทองคำให้ขยับตัวสูงขึ้นอีกด้วย

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

โฟกัสไปที่การรายงานตัวเลขดัชนี PMI …

ข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากออสเตรเลียและญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังคงผันผวน เป็นผลให้การรายงานข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นประจำเดือนมิถุนายนของเยอรมนี ยูโรโซน สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ เป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องติดตามเพื่อดูแนวโน้มระหว่างวัน นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกของแคนาดา ก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ควรจับตามองเช่นกัน

เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ล่าสุดที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันของตลาด ชี้ให้เห็นถึงความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยแตกต่างไปจากธนาคารกลางอื่นๆอย่างมาก หากตัวเลขข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯที่จะประกาศในวันนี้ปรับตัวดีขึ้นตามคาด ดอลลาร์สหรัฐฯอาจแข็งค่าขึ้นและปิดตลาดสัปดาห์นี้ในเชิงบวก ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบ ซึ่งต่างก็ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงสร้างแรงกดดันด้านลบต่อคู่เงิน EURUSD อีกด้วย

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !