ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

สูตรคำนวณอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ (Return on Asset) เผยวิธีคำนวณ ROA แบบละเอียด!

Return on Asset หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า ROA เป็นอัตราส่วนสำคัญทางการเงินที่จะช่วยคำนวณ วัด และประเมินความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจากสินทรัพย์ที่บริษัทนั้นๆ ถือครองอยู่ พูดง่ายๆ ก็คืออัตรา ROA ช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงนำผลประกอบการของ 2 บริษัทมาเปรียบเทียบกันได้ โดยอาศัยการคำนวณจากสินทรัพย์เฉลี่ยและรายได้สุทธิของบริษัทเหล่านั้น

None

ในบทความวันนี้ เราจะมาคลายข้อสงสัยให้ท่านว่า Return on Asset คืออะไรกันแน่? พร้อมสูตรการคำนวณ ROA แบบง่ายๆ ที่แม้แต่มือใหม่ก็ยังคำนวณได้ไม่ยาก เพื่อจะได้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าท่านควรลงทุนในบริษัทที่ท่านกำลังสนใจจริงๆ หรือเปล่า? คุ้มค่ากับการลงทุนระยะยาวมากแค่ไหน?

ROA คืออะไร?

Return on Asset หรือ ROA คือ อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่นักลงทุนใช้ประเมินสภาวะทางการเงินของบริษัทว่าบริษัทนั้นๆ มีผลประกอบการเป็นอย่างไร โดยหากผลการคำนวณตัวเลข ROA ออกมาสูง แสดงว่าบริษัทนั้นๆ มีความเคลื่อนไหวทางการเงินที่ดี มีผลประกอบการที่น่าพึงพอใจจากการบริหารจัดการสินทรัพย์ (Asset management) แต่หากตัวเลข ROA ต่ำ แสดงว่าบริษัทนั้นมีการบริหารจัดการที่ยังไม่ดีพอ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ จึงยังไม่เหมาะที่นักลงทุนจะเข้าไปลงทุนด้วย

สูตรคำนวณ Return on Asset

ในการคำนวณ ROA ท่านจะต้องทราบรายได้สุทธิ (Net income) ของบริษัท ซึ่งคำนวณมาจากรายได้ตลอดปีและจำนวนสินทรัพย์เฉลี่ย (Average asset) หรือที่เรียกกันว่า End-of-period asset นั่นเอง โดยสูตรการคำนวณอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ (ROA) มีดังนี้:

ROA = รายได้สุทธิ (Net Income) / สินทรัพย์เฉลี่ยรวม (Average asset)

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์สำคัญอย่างไร?

ROA เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินที่สามารถคำนวณได้ไม่ยาก ใช้ง่าย แต่ทำให้นักลงทุนเข้าใจและประเมินโอกาสในการทำกำไรจากบริษัทต่างๆ ได้จริง ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากการประเมินอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งแล้ว นักลงทุนยังสามารถเปรียบเทียบผลของ 2 บริษัทในช่วงเวลาต่างๆ ได้พร้อมกันอีกด้วย นักลงทุนจะได้เปรียบเทียบได้ว่าบริษัทไหนที่มีผลประกอบการที่น่าสนใจและน่าลงทุนมากกว่า

โดยหากนักลงทุนต้องการเปรียบเทียบบริษัท 2 บริษัท สิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรพิจารณา คือ บริษัททั้ง 2 ต้องมีขนาดบริษัทเท่าๆ กัน และต้องอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เพราะธุรกิจแต่ละกลุ่มก็จะมีตัวเลขอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ท่านไม่สามารถผลการคำนวณอัตรา ROA จากบริษัทที่มีขนาดต่างกันหรืออยู่คนละกลุ่มกันมาเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่าก็ย่อมมีจำนวนสินทรัพย์หรือผลประกอบการสูงกว่าเป็นธรรมดา

วิธีนำอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ไปใช้ในการลงทุน

นักลงทุนสามารถนำผลการคำนวณ ROA ไปใช้ประกอบการลงทุนได้หลายแบบ โดยส่วนใหญ่นักเทรดและบริษัทจะมีวิธีการนำอัตรา ROA ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้:

  1. เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ท่านควรคำนวณอัตรา ROA โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากท่านกำลังมองหาโอกาสการลงทุนในระยะยาวที่มีความเสี่ยงน้อย
  2. เปรียบเทียบ 2 บริษัท เพื่อช่วยให้ท่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรลงทุนกับบริษัทไหนจึงมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่อย่าลืมว่าท่านจะต้องเปรียบเทียบบริษัทที่มีขนาดเท่าๆ กัน หรือจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันเท่านั้นนะครับ
  3. เพื่อหาบริษัทที่มีประสิทธิภาพในการถือครองสินทรัพย์ หากตัวเลข ROA ออกมาต่ำ แสดงว่าบริษัทนั้นมีการถือครองสินทรัพย์จำนวนมาก (เช่น บริษัทสายการบิน) แต่หากอัตรา ROA ออกมาสูง แสดงว่าบริษัทนั้นมีการถือครองสินทรัพย์น้อย (เช่น บริษัทเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นต้น)

หากผลการคำนวณตัวเลข ROA ออกมาสูงกว่า 20% นั่นหมายความว่าท่านกำลังให้ความสนใจกับบริษัทที่มีการถือครองสินทรัพย์น้อยและมีผลการดำเนินงานที่ดี แต่หากตัวเลข ROA ต่ำกว่า 5% บริษัทที่ท่านเล็งไว้อาจมีการถือครองสินทรัพย์จำนวนมาก และหากลงทุนด้วยก็อาจมีโอกาสเสี่ยงขาดทุนในระยะยาว

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน