ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

Currency Peg คืออะไร? สำคัญกับนักเทรดอย่างไร?

ระบบผูกค่าเงินกับสกุลเงินอื่น (Pegged exchange rate) เป็นการนำสกุลเงินของประเทศหนึ่งไปเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง โดยจะเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่โดยธนาคารกลางหรือรัฐบาลของประเทศ ซึ่งในบางประเทศจะมีอัตราที่ผันผวนและอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว โดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของตลาด ขณะที่สกุลเงินอื่นๆ จะถูกผูกไว้กับสกุลเงินที่แข็งแกร่งกว่าซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่

None

ข้อดีของระบบผูกค่าเงินคือความโปร่งใสนั่นเอง โดยจะสามารถคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาวได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอยู่ภายใต้การควบคุมและทำให้ประเทศนั้นๆ มีเศรษฐกิจที่ดี

ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงระบบการผูกค่าเงินกับสกุลเงินอื่นว่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร เพื่อช่วยให้นักเทรด Forex เข้าใจตลาดได้มากขึ้น

ความหมายของ Pegging Currency

ข้อดีหลักๆ ของการผูกสกุลเงินก็เพื่อให้มั่นใจว่าเงื่อนไขการซื้อขายระหว่างสองประเทศนั้นมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ ประเทศกำลังพัฒนาหลายๆ ประเทศจึงผูกสกุลเงินของตัวเองกับสกุลเงินของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมีเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าและเติบโตกว่า ส่งผลให้ธุรกิจและบริษัทในประเทศได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่มากขึ้นและมีความเสี่ยงลดลง

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ในอดีต สกุลเงิน USD, EUR และทองคำเป็นตัวเลือกที่นิยมมากที่สุดที่ใช้ในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน โดยสินทรัพย์เหล่านี้ทำให้สามารถสร้างเสถียรภาพระหว่างประเทศต่างๆ และคู่ค้าได้ โดยการผูกสกุลเงินอาจมีระยะเวลานานหลายปีหรือหลายสิบปี ตัวอย่างเช่น HKD ถูกผูกเทียบกับ USD ตั้งแต่ปี 1983 ในท้ายที่สุด หลายๆ ประเทศก็มีตราสารที่น่าเชื่อถือในการทำให้นโยบายการเงินของตนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อดี-ข้อเสียของ Currency Peg

เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับระบบ Currency peg มากขึ้น 25% ของทุกประเทศทั่วโลกมีสกุลเงินประจำชาติที่เชื่อมโยงกับสกุลเงินหลักอื่นๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐและยูโร อีกทั้งยังมีทองคำเป็นหนึ่งในตัวเลือกในการผูกสกุลเงินเช่นกัน

ที่น่ากังวลคือระบบการผูกสกุลเงินนั้นไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100% มีหลายครั้งที่ระบบดังกล่าวได้ทำลายเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ เช่น อาร์เจนตินา ขณะที่บางประเทศประสบความสำเร็จกับระบบดังกล่าวและมีเศรษฐกิจที่เติบโตมากกว่าเดิม เช่น ประเทศจีน เป็นต้น

ข้อดีของระบบการผูกค่าเงิน

การผูกค่าสกุลเงินเป็นวิธีที่ดีสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายศักยภาพทางเศรษฐกิจ ขณะที่บางประเทศมีการผูกค่าสกุลเงินมานานหลายสิบปี โดยข้อดีหลักๆ ของระบบการผูกสกุลเงิน มีดังนี้:

  • แผนเศรษฐกิจที่มั่นคง ระบบการผูกค่าสกุลเงินส่งผลดีต่ออนาคตเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากประเทศนั้นๆ จะทราบได้ว่าต้องจ่ายค่าสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งอาหารและน้ำมันในสินทรัพย์ที่ตรึงไว้เท่าไหร่ ทำให้สามารถคาดการณ์มูลค่าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และแน่นอนว่าเราควรคำนึงถึงความผันผวนในตลาด Forex อยู่เสมอ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่มีสภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ
  • นโยบายการเงินที่เหมาะสม ระบบการผูกค่าเงินเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เช่น หลายๆ ประเทศในอเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชียที่มีอัตราการทุจริตสูง ทำให้ผู้คนในประเทศไม่วางใจในผู้นำประเทศของตน และต้องการกำลังสำรองที่แข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่มีเศรษฐกิจดีกว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจในประเทศของตัวเอง โดยการผูกค่าเงินยังช่วยหลีกเลี่ยงภาวะเงินเฟ้อรุนแรงได้อีกด้วย
  • ลดความผันผวนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ข้อดีหลายๆ อย่างจะเอื้อให้กับรัฐบาลของประเทศมากกว่า อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเล็กๆ ก็มีโอกาสได้รับผลดีจากการผูกค่าเงิน เพราะด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการผูกเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถคาดการณ์ราคาสินค้าได้ง่ายขึ้น และวางแผนงบประมาณ และแคมเปญการเงินตามนั้น นอกจากนี้ ธุรกิจยังสามารถทราบปริมาณที่แน่นอนของผลิตภัณฑ์พร้อมกับความต้องการและรายได้ที่จะตามมา

ข้อเสียของระบบการผูกค่าเงิน

แน่นอนว่าระบบการผูกค่าเงินนั้นไม่ได้ดีแบบ 100% เพราะมีหลายๆ ประเทศที่ต้องประกาศล้มละลายหลังใช้ระบบดังกล่าว ดังนั้น ข้อเสียที่ต้องระวังจากการใช้ระบบการผูกค่าเงิน มีดังนี้:

  • อิทธิพลทางการเมือง หลายประเทศที่ด้อยกว่าจะได้รับอิทธิพลหลายๆ อย่างจากประเทศที่มีกำลังมากกว่า เนื่องจากว่าประเทศเหล่านั้นจะมีอำนาจในการกำหนดนโยบายการเงินนั่นเอง มีหลายครั้งที่เราเห็นสถานการณ์ความขัดแย้งจากการโจมตีค่าเงินปอนด์อังกฤษหรือธนาคาร Bundesbank ของเยอรมันที่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยกระทันหัน เพื่อให้ทันกับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น
  • ใช้ร่วมกับโครงสร้างการเงินยาก ระบบการผูกค่าเงินนั้นค่อนข้างซับซ้อน และอาจไม่สามารถใช้ได้กับโครงสร้างทางการเงินของบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ใช้ระบบสกุลเงินแบบลอยตัว สมมติว่าประเทศมีการนำเข้าสินค้ามากเกินไป เมื่อมีการผูกสกุลเงินไว้ก็จะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อุปทานของสกุลเงินลดลงจนส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืด
  • เกิดการเก็งกำไรจำนวนมาก ในบางกรณี สกุลเงินที่มีการเทียบกันอาจต่างจากมูลค่าจริงไปอย่างมาก ทำให้เกิดช่องว่างหรือ Gap ขนาดใหญ่ และก่อให้เกิดการเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจะสร้างช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างตลาดและมูลค่าสกุลเงินพื้นฐาน แต่จะไม่เกิดขึ้นในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการจัดตั้งกองทุนการเงินจำนวนมากเพื่อช่วยให้ประเทศที่อ่อนแอกว่าสามารถรักษาสถานการณ์เศรษฐกิจไว้ได้ หลังจากมีการผูกค่าเงินแล้ว กองทุนหลายๆ กองมีทรัพยากรเพียงพอในการควบคุมธนาคารกลาง อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้ช่วยปกป้องเศรษฐกิจของประเทศจากการเก็งกำไรได้เลย ทำให้หลายๆ ประเทศต้องล้มเลิกระบบดังกล่าวในที่สุด

สรุปเกี่ยวกับการผูกค่าเงิน

การผูกค่าสกุลเงินคืออัตราแลกเปลี่ยนคงที่ซึ่งกำหนดมูลค่าของประเทศหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะใช้กับประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีเศรษฐกิจไม่แข็งแรงมากนัก โดยการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือที่ดีในการเสริมสร้างนโยบายการเงินและสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับธุรกิจในประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็อาจนำไปสู่การล้มละลายและการเก็งกำไรซึ่งส่งผลในทางลบได้ ทั้งนี้ เรามองว่าระบบดังกล่าวจะเหมาะสมสำหรับเศรษฐกิจที่มีอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวมากกว่า

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน